ขอต้อนรับทุกท่านสู่หน้าบล็อก ชีววิทยาที่รวบรวมข้อมูลในเรื่องของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรทิสต้า

15 ก.พ. 2556

ไฟลัมมิกโซไมโคไฟตา (Phylum Myxomycophyta)


ไฟลัมมิกโซไมโคไฟตา (Phylum Myxomycophyta)

             เป็นโปรตีสต์ที่มีช่วงชีวิตที่มีลักษณะคล้ายสัตว์และช่วงชีวิต ที่มีลักษณะคล้ายพืช ได้แก่ ราเมือก (Slime mold) เป็นต้น แหล่งที่พบ ส่วนใหญ่พบในทะเล 



                มีลักษณะสำคัญดังนี้

1. มีเซลล์เป็นแบบยูคาริโอต ไม่มีผนังเซลล์ไม่มีคลอโรฟิลล์ประกอบด้วยกลุ่มของ
โปรโตปลาสซึมที่แผ่กระจายมีลักษณะเป็นเมือก
2. การสืบพันธุ์มีวงชีวิตที่มีลักษณะคล้ายสัตว์สลับกับวงชีวิตคล้ายพืช คือ ในภาวะปกติ
ของชีวิต มีลักษณะเป็นกลุ่มของโปรโตปลาสซึมแผ่กระจายคล้ายแผ่นวุ้น เซลล์แต่ละ                       เซลล์ไม่มีผนังกั้น จึงทำให้นิวเคลียสกระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์ มองดูคล้ายร่างแห
เรียกว่าระยะ พลาสโมเดียม (plasmodium) สามารถกินอาหารและเคลื่อนที่ได้แบบ
อะมีบา(amoebiod movement) พอถึงระยะที่มีการสืบพันธุ์ ราเมือก จะสร้างอับ สปอร์(sporangium) ซึ่งภายในสปอร์ที่มีผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลลูโลสเช่นเดียวกับพืช



ขอขอบคุณข้อมูลจาก    http://www.thaigoodview.com

ไฟลัมยูไมโคไฟตา ( Phylum Eumycophyta)


ไฟลัมยูไมโคไฟตา ( Phylum Eumycophyta)
              สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ พวกที่มีเซลล์เดียว ได้แก่ยีสต์ และพวกที่มีหลายเซลล์ คือ เห็ด รา ซึ่งจะมีส่วนประกอบ ประกอบด้วยเซลล์เส้นใย ที่เรียกวา ไฮฟา (hypha) กลุ่มของไฮฟาเรียกว่า ไมซีเลียม (mycelium) ไฮฟาจะเป็นตัวยึดให้เห็ดติดแน่นอยู่กับแหล่งที่อยู่ ส่วนปลายของไฮฟาจะมีการสร้างสปอร์ เมื่อสปอร์แก่ก็จะปลิวไปตกยังที่ต่าง ๆ หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม ก็จะงอกเป็นไฮฟาใหม่อีก เจริญเติบโตต่อไป

             แหล่งที่พบ ส่วนใหญ่พบในทะเล

             ลักษณะ
                          1. โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucariyotic cell) ส่วนมากมีหลายเซลล์ ยกเว้น ยีสต์ซึ่งมีเซลล์เดียว
                          2. ไม่มีคลอโรฟิลล์ จึงไม่สามารถสร้างอาหารได้ ต้องใช้อาหารจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น 3. ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส ไคติน (chitin) และลิกนิน

ไฟลัมโรโดไฟตา (Phylum Rhodophyta)


ไฟลัมโรโดไฟตา (Phylum Rhodophyta)
              ได้แก่พวก สาหร่ายสีแดง แหล่งที่พบ ส่วนใหญ่พบในทะเล
              ลักษณะ
                  
               1. มีคลอโรฟิลล์เป็นชนิดเอและดี คาร์โรทีน แซนโทฟิลด์และไฟโคอิริทริน (Phycoerythrin) ซึ่งเป็นสารสีแดง จังทำให้สาหร่ายพวกนี้มีสีแดง
               2. อาหารสะสมเป็นแป้งมีชื่อเฉพาะว่า ฟลอริเดียนสตาซ (floridean starch)
               3. ผนังเซลล์เป็นสารเซลลูโลส โพลี่แซคคาไรด์ที่เป็นเมือกบางชนิดมี Ca ด้วย
               4. ส่วนใหญ่อยู่ในทะเลมีบางชนิดเท่านั้นที่อยู่ในน้ำจืด
               5. ตัวอย่างของสาหร่ายของดิวิชันนี้ได้แก่

                            - พอร์ไฟรา (Porphyra) เมื่อตากแห้งแล้วใช้ใส่แกงจืดที่เรียกกันว่า จีฉ่าย กราซิลาเรีย (Gracilaria) นำมาสกัดสารคาร์แรกจิแนน (carrageenan) ใช้ในการทำวุ้น (agar) ซึ่งมีความสำคัญในการทำอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ ทำเครื่องสำอาง ทำยาขัดรองเท้า ครีมโกนหนวด เคลือบเส้นใย ใช้ทำแคปซูลยา ทำยา และใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เห็ดรา และราเมือก
                            - กราซิลาเรีย (Gracilaria) นำสารสกัดสารคาร์แรกจิแนน (Carrageenan) ใช้ในการทำวุ้น (agar) ซึ่งมีความสำคัญในการทำอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ ทำเครื่องสำอาง ทำยาขัดรองเท้า ครีมโกนหนวด เคลือบเส้นใย ใช้ทำแคปซูลยา ทำยา และใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ไฟลัมไพรโรไฟตา (Phylum Pyrrophyta)

ไฟลัมไพรโรไฟตา (Phylum Pyrrophyta) 

มักเรียกกันว่า ไดโนแฟลกเจลเลต (dinoflagellate) มีลักษณะที่สำคัญดังนี้
         1. มีคลอโรฟิลล์เป็นชนิดเอและซี คาร์โรทีน แซนโทฟิลล์
         2. ผนังเซลล์เป็นเซลลูโลสและสารที่เป็นเมือก บางชนิดอาจไม่มีผนังเซลล์
         3. ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยวมีแฟลกเจลลา 2 เส้น เส้นหนึ่งใช้ในการเคลื่อนที่และอีกเส้นหนึ่งพันอยู่รอบเซลล์
        4. ตัวอย่างของสาหร่ายในดิวิชันนี้ได้แก่
        - ซีราเตียม (Ceratium) นอคติลูกา(Noctiluca) จิมโนดิเนียม ( Gymnodinium) โกนีออแรกซ์(Gonyaulax)

ไฟลัมเฟโอไฟตา (Phylum Phaeophyta)


ไฟลัมเฟโอไฟตา (Phylum Phaeophyta)
             ได้แก่พวก สาหร่ายสีน้ำตาล แหล่งที่พบ ในน้ำเค็ม

             ลักษณะ
               1. มีคลอโรฟิลล์เป็นชนิด a และ c และมีคาโรทีน ฟิวโคแซนทีนด้วย จึงทำให้มองดูเป็นสีน้ำตาล
               2. อาหารสะสมเป็นน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ เรียกว่า ลามินาริน (laminarin)
               3. ผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลลูโลสและพวกกรดอัลจินิก (alginic acid)
               4. มีส่วนที่คล้ายรากเรียกว่า hold fast ใช้ในการยึดเกาะกับสิ่งที่เป็นพื้นผิวที่เจริญอยู่ ส่วน
              ที่คล้ายลำต้นเรียกว่า stipe ส่วนที่คล้ายใบเรียกว่า blade เป็นสาหร่ายขนาดใหม่เจริญ
              อยู่ในทะเล จึงถูกเรียกว่า วัชพืชทะเล (sea weed)
             
              ตัวอย่างของสาหร่ายดิวิชันนี้ได้แก่
           - ไจแอนต์ เคลป์ (giant kelp) มีขนาดใหญ่ที่สุด
          - ลามินาเรีย (Laminaria) พาไดนา (Padina) ฟิวคัส (fucus) ซาร์กัสซัม(Sargassum)

           ความสำคัญ
                        1. Laminara ใช้ทำปุ๋ยโปตัสเซียม
                        2. Laminara และ Kelp สกัดได้จากสารแอลจิน (algin) ทำไอศกรีม พลาสติก สบู่




 ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaigoodview.com



ไฟลัมยูกลีโนไฟตา (Phylum Euglenophyta)

ไฟลัมยูกลีโนไฟตา (Phylum Euglenophyta)
 
             สาหร่ายในดิวิชันนี้เรียกว่า ยูกลีนอยด์ (euglenoid) ซึ่งจัดเป็นโปรโตซัวในคลาสแฟลก เจลลาตาด้วย

             แหล่งที่พบ ในน้ำจืด ในดินชื้นแฉะ 



  

ไฟลัมคริสโซไฟตา (Phylum Chrysophyta)


ไฟลัมคริสโซไฟตา (Phylum Chrysophyta)
             ได้แก่พวกสาหร่ายสีน้ำตาลแกมเหลือง หรือสาหร่ายสีทอง

             แหล่งที่พบ พบได้ทั่วไปทั้งในน้ำจืด น้ำเค็ม

               ลักษณะ
                          1. สาหร่ายสีน้ำตาลแกมทอง ( goldenbrown algae ) มีประมาณ 16,600 สปีชีส เป็นผู้ผลิตที่มีมากที่สุดในทะเล
                          2. รงควัตถุที่พบในเซลล์มีรงควัตถุสีเขียว คือ คลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ ซี และมีรงควัตถุสีน้ำตาล คือ ฟิวโคแซนทิน (Fucoxanthin) ซึ่งมีมากที่สุดถึง 75 % ของรงควัตถุทั้งหมด และลูเทอริน (Luthein) ปริมาณมากกว่าคลอโรฟิลล์จึงทำให้มีสีน้ำตาลแกมทอง


ไฟลัมคลอโรไฟตา (Phylum Chlorophyta)

ไฟลัมคลอโรไฟตา (Phylum Chlorophyta)

 ได้แก่สาหร่ายสีเขียว ( green algae) มีทั้วหมดประมาณ 17,500 สปีชีส์ พบอยู่ในน้ำจืดมากกว่าในน้ำเค็ม พบในดินที่เปียกชื้น แม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบ และในทะเล แหล่งที่พบ พบทั่วไปตามน้ำจืด และในทะเล เช่น อะเซตาบูลาเรีย (มีมากเกิดปรากฎการณ์ เรียกว่า วอเตอร์บลูม 



http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/17/2/ThaiGoodView/chlorophyta/p8_2_clip_image032.jpg   

ลักษณะ
                 1. จำนวนเซลล์มีทั้งพวกเซลล์เดี่ยวหรือหลายเซลล์ต่อกันเป็นสายยาว หรือรวมกันเป็นกลุ่ม มีทั้งเคลื่อนที่ได้ และเคลื่อนที่ไม่ได้
                          - พวกเซลล์เดียวที่เคลื่อนที่ได้ โดยมีแฟลกเจลลัมใช้โบกพัด จำนวน 2-4 เส้น เช่น แคลมมิโดโมแนส ( Chlamydomonas )
                          - พวกเซลล์เดียวที่เคลื่อนที่ไม่ได้ โดยไม่มีแฟลกเจลลัม เช่น คลอเรลลา (Chlorella) คลอโรคอคคัม (Chlorococcoum)
                          - พวกหลายเซลล์ต่อกันเป็นสายยาว เช่น ยูโลทริกซ์ (Ulothrix) อีโดโกเนียม (Oedogonium) สไปโรไจรา หรือเทาน้ำ (Spirogyra)
                          - พวกหลายเซลล์เป็นกลุ่ม (Clolnial forms) เช่น วอลวอกซ์ (Volvox) เพดิแอสดรัม (Pediastrum) ซีนเตสมัน (Scenedesmus) 

Phylum Protozoa



Phylum Protozoa

ลักษณะสำคัญ

1. อยู่กันอย่างโดดเดี่ยว (solitary) บางกลุ่มรวมกลุ่มหรือโคโลนี (colony)

2. ขนาดเล็ก

3. สมมาตร (symmetry) ของร่างกายแบบต่างๆ

   3.1 สมมาตรครึ่งซีก (bilateral symmetry)

   3.2 สมมาตรทรงกลม (spherical symmetry)

   3.3 ไม่มีสมมาตร (asymmetry)

4. โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucaryotic) ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ โพรโทซัว เห็ด รา ยีสต์ ราเมือก สาหร่ายต่าง ๆ

5. การเคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่ได้โดยใช้ ซีเลีย (cilia) แฟลกเจลลัม (flagellum) หรือซูโดโปเดียม (Pseudopodium) บางชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้

6. ไม่มีเนื้อเยื่อ ไม่มีอวัยวะ มีนิวเคลียสหนึ่งหรือหลายนิวเคลียส

7. การดำรงชีวิตโดยอิสระ (free-living) ภาวะพึ่งพากัน (mutaution) ภาวะอิงอาศัย (commensation) หรือภาวะปรสิต (parasitem)

8. เคลื่อนที่โดยใช้

   - เท้าเทียม (psedopodia) เช่น อะมีบา

   - ซิเลีย (cilia) เช่น พารามีเซียม

   - แฟลกเจลลา (flagella) เช่น ยูกลีนา

   - ไม่มีอวัยวะในการเคลื่อนที่ เช่น พลาสโมเดียม

9. บางชนิดมีโครงร่างค้ำจุนร่างกาย

10. การกินอาหาร (nutrition) มีทุกรูปแบบ

                10.1 autotrophic

         10.2 heterotrophic

11. อาศัยอยู่ในน้ำ ในดิน บนบก ดำรงชีวิตอิสระหรือแบบซิมไบโอซิส (symbioosis)

12. การสืบพันธุ์ (reproduction)

         12.1 ไม่อาศัยเพศ ได้แก่ binary fission หรือ budding

         12.2 อาศัยเพศ ได้แก่ conjugation หรือ syngamy เป็นการรวมตัวกันเป็นไซโกต

26 ธ.ค. 2555

อาณาจักรโปรทิสตา (Kingdom Protista)

อาณาจักรโปรติสตา (Kingdom Protista)
การจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็น 2 อาณาจักร คือ อาณาจักรพืชและอาณาจักรสัตว์นั้นเกิดปัญหาที่สำคัญคือสิ่งมีชีวิต บางชนิดมีลักษณะทั้งพืชและสัตว์อยู่ในตัวเอง จึงทำให้นักพฤกษศาสตร์จัดไว้ในอาณาจักรพืช และนักสัตววิทยาก็จัดไว้ในอาณาจักรสัตว์ ซึ่งมันไม่น่าจะเป็นไปได้ที่สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวอยู่ทั้งสองอาณาจักร ดังนั้น Ernst Haeckel นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันจึงได้ เสนอชื่อ โปรติสตา (protista) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิตพวกแรก ๆ ขึ้นมาใช้ จึงทำให้แยกสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีลักษณะของพืชหรือสัตว์ อย่างชัดเจน ออกจากอาณาจักรพืชและอาณาจักรสัตว์ แล้วตั้งเป็นอาณาจักรใหม่ ชื่อ "อาณาจักรโปรติสตา"
ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรติสตา 1. ร่างกายประกอบด้วยโครงสร้างง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ส่วนมากประกอบด้วยเซลล์เดียว (unicellular) บางชนิดมีหลายเซลล์รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า โคโลนี (colony) หรือเป็นสายยาว (filament) แต่ยังไม่ทำหน้าที่ ร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue)หรืออวัยวะ (organ) แต่ละเซลล์สามารถทำหน้าที่ของความเป็นสิ่งมีชีวิตได้ครบถ้วนอย่าง อิสระ
2. ไม่มีระยะตัวอ่อน (Embryo) ซึ่งต่างจากพืชและสัตว์ที่มีระยะตัวอ่อนก่อนที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย
3. การดำรงชีพ มีทั้งชนิดที่เป็นผู้ผลิต (Autotroph) เพราะมีคลอโรฟิลล์ เป็นผู้บริโภค (Consumer) และเป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer)
4. โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucaryotic) ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ โพรโทซัว เห็ด รา ยีสต์ ราเมือก สาหร่ายต่าง ๆ
5. การเคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่ได้โดยใช้ ซีเลีย (cilia) แฟลกเจลลัม (flagellum) หรือซูโดโปเดียม (Pseudopodium) บางชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้
6. การสืบพันธุ์ ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) และแบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) แบบอาศัยเพศมีทั้งชนิดคอนจูเกชัน (Conjugation) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน มารวมกัน ดังเช่นที่พบในพารามีเซียม ราดำ เป็นต้น และชนิดปฏิสนธิ (fertilization) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ ที่มีรูปร่างและขนาดต่างกันมารวมกัน ดังเช่นที่พบในสาหร่ายเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น

สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 9 ไฟลัม คือ
1. ไฟลัมโพรโทซัว (Phylum Protazoa)
2. ไฟลัมคลอโรไฟตา (Phylum Chlorophyta)
3. ไฟลัมคริสโซไฟตา (Phylum Chrysophyta)
4. ไฟลัมยูกลีโนไฟตา (Phylum Euglenophyta)
5. ไฟลัมเฟโอไฟตา (Phylum Phaeophyta)
6. ไฟลัมไพรโรไฟตา (Phylum Pyrrophyta)
7. ไฟลัมโรโดไฟตา (Phylum Rhodophyta)
8. ไฟลัมยูไมโคไฟตา (Phylum Eumycophyta)
9. ไฟลัมมิกโซไมโคไฟตา (Phylum Myxomycophyta)