ขอต้อนรับทุกท่านสู่หน้าบล็อก ชีววิทยาที่รวบรวมข้อมูลในเรื่องของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรทิสต้า

15 ก.พ. 2556

Phylum Protozoa



Phylum Protozoa

ลักษณะสำคัญ

1. อยู่กันอย่างโดดเดี่ยว (solitary) บางกลุ่มรวมกลุ่มหรือโคโลนี (colony)

2. ขนาดเล็ก

3. สมมาตร (symmetry) ของร่างกายแบบต่างๆ

   3.1 สมมาตรครึ่งซีก (bilateral symmetry)

   3.2 สมมาตรทรงกลม (spherical symmetry)

   3.3 ไม่มีสมมาตร (asymmetry)

4. โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucaryotic) ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ โพรโทซัว เห็ด รา ยีสต์ ราเมือก สาหร่ายต่าง ๆ

5. การเคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่ได้โดยใช้ ซีเลีย (cilia) แฟลกเจลลัม (flagellum) หรือซูโดโปเดียม (Pseudopodium) บางชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้

6. ไม่มีเนื้อเยื่อ ไม่มีอวัยวะ มีนิวเคลียสหนึ่งหรือหลายนิวเคลียส

7. การดำรงชีวิตโดยอิสระ (free-living) ภาวะพึ่งพากัน (mutaution) ภาวะอิงอาศัย (commensation) หรือภาวะปรสิต (parasitem)

8. เคลื่อนที่โดยใช้

   - เท้าเทียม (psedopodia) เช่น อะมีบา

   - ซิเลีย (cilia) เช่น พารามีเซียม

   - แฟลกเจลลา (flagella) เช่น ยูกลีนา

   - ไม่มีอวัยวะในการเคลื่อนที่ เช่น พลาสโมเดียม

9. บางชนิดมีโครงร่างค้ำจุนร่างกาย

10. การกินอาหาร (nutrition) มีทุกรูปแบบ

                10.1 autotrophic

         10.2 heterotrophic

11. อาศัยอยู่ในน้ำ ในดิน บนบก ดำรงชีวิตอิสระหรือแบบซิมไบโอซิส (symbioosis)

12. การสืบพันธุ์ (reproduction)

         12.1 ไม่อาศัยเพศ ได้แก่ binary fission หรือ budding

         12.2 อาศัยเพศ ได้แก่ conjugation หรือ syngamy เป็นการรวมตัวกันเป็นไซโกต


รูปร่างลักษณะโครงสร้างของเซลล์
- เซลล์ของโปรโตซัวมีลักษณะคล้ายกับเซลล์ของยูคาริโอต คือด้านนนอกของเซลล์ห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มเซลล์

- ในไซโตพลาซึม แบ่งออกเป็น 2 บริเวณ คือ

   1. สารพวกคอลลอยด์

   2. ของเหลวมีแกรนูล

- ภายในไซโตพลาซึมประกอบด้วยออร์แกแนล์ต่างๆ

- นิวเคลียสมีหนึ่งหรือหลายนิวเคลียส เช่น พารามีเซียม มีนิวเคลียส 2 ชนิด คือ

   1. ควบคุมเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ (Micronucleus)

   2. ควบคุมเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม (Macronucleus)

ไฟลัมคลอโรไฟตา (Phylum Chlorophyta)

ได้แก่สาหร่ายสีเขียว ( green algae) มีทั้วหมดประมาณ 17,500 สปีชีส์ พบอยู่ในน้ำจืดมากกว่าในน้ำเค็ม พบในดินที่เปียกชื้น แม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบ และในทะเล แหล่งที่พบ พบทั่วไปตามน้ำจืด และในทะเล เช่น อะเซตาบูลาเรีย (มีมากเกิดปรากฎการณ์ เรียกว่า วอเตอร์บลูม

ลักษณะ

1. จำนวนเซลล์มีทั้งพวกเซลล์เดี่ยวหรือหลายเซลล์ต่อกันเป็นสายยาว หรือรวมกันเป็นกลุ่ม มีทั้งเคลื่อนที่ได้ และเคลื่อนที่ไม่ได้

   - พวกเซลล์เดียวที่เคลื่อนที่ได้ โดยมีแฟลกเจลลัมใช้โบกพัด จำนวน 2-4 เส้น เช่น แคลมมิโดโมแนส ( Chlamydomonas )

   - พวกเซลล์เดียวที่เคลื่อนที่ไม่ได้ โดยไม่มีแฟลกเจลลัม เช่น คลอเรลลา (Chlorella) คลอโรคอคคัม (Chlorococcoum)

   - พวกหลายเซลล์ต่อกันเป็นสายยาว เช่น ยูโลทริกซ์ (Ulothrix) อีโดโกเนียม (Oedogonium) สไปโรไจรา หรือเทาน้ำ (Spirogyra)

   - พวกหลายเซลล์เป็นกลุ่ม (Clolnial forms) เช่น วอลวอกซ์ (Volvox) เพดิแอสดรัม (Pediastrum) ซีนเตสมัน (Scenedesmus)

2. รงควัตถุที่พบจะเป็นเช่นเดียยวกับที่พบในพืชชั้นสูง คือ มีคลอโรฟิลล์ เอ, คลอโรฟิลล์ บี, คาโรทีน และแซนโทฟิลล์ รงควัตถุทั้งหมดนี้จะประกอบกันด้วยอัตราส่วนที่เหมือนกับพวกพืชชั้นสูงจึงทำให้มีสีเขียวสด รงควัตถุทั้งหมดนี้จะรวมกันอยู่ในเม็ดสี หรือพลาสติด (Plastid) ที่เรียกว่า คลอโรพลาสต์ โดยอาจจะมี 1 อัน หรือมากกว่า 1 อัน คลอโรพลาสต์ของสาหร่ายสีเขียวมีรูปร่างหลายแบบ เช่น

   - รูปร่างเป็นเม็ด ๆ พบใน ไบรออปซิส (Bryopsis)

   - รูปร่างเป็นเกลียว พบใน สไปโรไจรา (Spirogyra)

   - รูปร่างเป็นคล้ายร่างแห พบใน อีโดโกเนียม (Oedogonium)

   - รูปร่างเป็นแผ่น พบใน ยูโลทริกซ์ (Ulothrix)

   - รูปร่างเป็นรูปดาว พบใน ซิกนีมา (Zygnema)

   - รูปร่างเป็นรูปตัว U พบใน คลอเรลลา (Chlorella)

3. โครงสร้างของผนังเซลล์ ประกอบด้วย เซลลูโลส (Cellulose) บางชนิดมีเปกติน (Pectin) เคลือบอยู่ภายนอกบาง ๆ บางชนิดมีแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate)

4. อาหารที่เก็บไว้ก็คือ ไพรีนอยด์ (Pyrenoids) อยู่ในเม็ดคลอโรพลาสต์ เข้าใจว่าไพรีนอยด์เป็นโครงสร้างที่มีโปรตีนเป็นแกนกลาง และมีแผ่นแป้งหุ้มล้อมรอบอยู่

5. การสืบพันธุ์

   - แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน ในพวกเซลล์เดียว หรือหักสาย (Fragmentation) หรือสร้างสปอร์

   - แบบอาศัยเพศ โดยคอนจูเกชัน (Conjugation) หรือการปฏิสนธิ (Fertilization)

6. แหล่งที่อยู่ สาหร่ายสีเขียวพบในน้ำจืดเป็นส่วนใหญ่ ในน้ำเค็มก็มีบ้างตามที่ชื้นแฉะทั่วไป เปลือกไม้ ใบไม้ ก้อนหินเปียก ๆ และบนหิมะก็มี บางชนิดอยู่ในภาวะพึ่งพากับรา เกิดเป็นไลเคน บางชนิดก็เป็นปรสิตของพืชชั้นสูง

ความสำคัญ เป็นสารอาหาร เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และวิตามิน สูง

ไฟลัมโปรโตซัว แบ่งออกเป็น 4 คลาส คือ

คลาสแฟลกเจลลาตา (Class Flagellata) เคลื่อนที่โดยใช้แฟลกเจลลัม ซึ่งอาจมีมากกว่า 1เส้น มีทั้งพวกที่ดำรงชีวิตเป็นอิสระและเป็นปรสิต อาศัยอยู่ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม พวกที่เป็นปรสิต ได้แก่ พวกที่ทำให้เกิดเป็นโรคเหงาหลับคือ ทริปาโนโซมา



ทริปาโนโซมา





ลาสซาโคดินา (Class Sarcodina) เคลื่อนที่โดยใช้เท้าเทียมหรือซูโดโปเดียม (Pseudopodium) ซึ่งเกิดจากการไหลของไซโตพลาสซึม มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น อมีบา (ameba) ซึ่งเป็นปรสิตทำให้เกิดโรคบิดหรือทำให้ท้องร่วง
  
อมีบา (ameba)


คลาสซีเลียตา (Class Ciliata) เคลื่อนที่โดยใช้ซิเลีย (cilia) มีทั้งที่ดำรงชีพอย่างอิสระและเป็นปรสิต
โดยทั่วไปมีนิวเคลียส 2 ขนาด  คือนิวเคลียสขนาดใหญ่  เรียกว่า มาโครนิวเคลียส (Macronucleus)
นิวเคลียสขนาดเล็กเรียกว่า ไมโครนิวเคลียส ( Micronucleus)  เช่น พารามีเซียม ( Paramicium )



พารามีเซียม




คลาสสปอโรซัว (Class Sporozoa) พวก นี้ไม่มีอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนที่  ดำรงชีวิตเป็นปรสิต  สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์  และรวมตัวกันคล้ายการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ  เช่น พลาสโมเดียม (Plasmodium)  ซึ่งเป็นเชื้อมาเลเรีย


 
พลาสโมเดียม


ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.ipecp.ac.th 












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น